วันศุกร์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

เรื่องดี ๆ ที่บ้านเรา

ขอแสดงความยินดีกับ 
นายมรกต  แก้วพรหมลัด  
นางสาวชุติมา  มณีพรหม
นางสาวชลนิภา  ฉุยโรจน์ธรรม

ที่ได้รับเงินรางวัลและเกียรติบัตรจากการประกวดงานเขียน 
....  เรื่องดี ๆ ที่บ้านเรา  ...



วันพุธที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2557

ค่ายเสริม..เติมฝัน นักเรียน ม.3


นักเรียน ม.3 ร่วมกิจกรรม ค่ายเสริมเติมฝัน ..สอบวัดความรู้วิชาภาษาไทย
ผู้อำนวยการ กฤษดา  ปรีชาหาญ มอบรางวัล...นักเรียนที่ได้คะแนนสอบสูงสุดของแต่ละห้อง

วันพฤหัสบดีที่ 25  กันยายน 2557

วันศุกร์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

๒๙ กรกฎาคม วันภาษาไทยแห่งชาติ

เชิญชวนทุกท่าน ใช้ภาษาไทยให้ถูกต้อง


วันภาษาไทยแห่งชาติ ตรงกับวันที่ 29 กรกฎาคม ของทุกปี เพื่อระลึกถึงเหตุการณ์ในวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2505 ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเสด็จพระราชดำเนินไปทรงอภิปรายเรื่อง "ปัญหาการใช้คำไทย" ร่วมกับผู้ทรงคุณวุฒิที่ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

29 กรกฎาคม พ.ศ. 2505 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเป็นประธานและทรงอภิปรายเรื่อง "ปัญหาการใช้คำไทย" ร่วมกับผู้ทรงคุณวุฒิในการประชุมทางวิชาการของชุมนุมภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทรงแสดงความห่วงใยในภาษาไทย ทำให้ผู้ร่วมประชุมครั้งนั้นประทับใจพระราชดำรัสตอนหนึ่งว่า

“เรามีโชคดีที่มีภาษาของตนเองแต่โบราณกาล จึงสมควรอย่างยิ่งที่จะรักษาไว้ ปัญหาเฉพาะในด้านรักษาภาษานี้ก็มีหลายประการ อย่างหนึ่งต้องรักษาให้บริสุทธิ์ในทางออกเสียง คือ ให้ออกเสียงให้ถูกต้องชัดเจน อีกอย่างหนึ่งต้องรักษาให้บริสุทธิ์ในวิธีใช้ หมายความว่า วิธีใช้คำมาประกอบประโยค นับเป็นปัญหาที่สำคัญ ปัญหาที่สาม คือ ความร่ำรวยในคำของภาษาไทย ซึ่งพวกเรานึกว่าไม่ร่ำรวยพอ จึงต้องมีการบัญญัติศัพท์ใหม่มาใช้...สำหรับคำใหม่ที่ตั้งขึ้นมีความจำเป็นในทางวิชาการไม่น้อย แต่บางคำที่ง่าย ๆ ก็ควรจะมี ควรจะใช้คำเก่า ๆ ที่เรามีอยู่แล้ว ไม่ควรจะมาตั้งศัพท์ใหม่ให้ยุ่งยาก”

วันอาทิตย์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2557

๒๖ มิถุนายน วันสุนทรภู่


กลุ่มสาระภาษาไทย..
ขอขอบคุณคณะผู้บริหาร 
คณะครูทุกกลุ่มสาระ 
ขอบใจนักเรียน...
ที่ได้..ร่วมจัด..ร่วมงาน..
รำลึกครูกลอนสุนทรภู่ 
ปีการศึกษา ๒๕๕๗ 










วันศุกร์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2557

ประชุมสัมมนา

เสาร์ที่ 21 มิถุนายน 2557

ขอบคุณครูมาลี  เจียรวณิชชา

และนักเรียน ม.3/10 ที่มาร่วมสัมมนาการใช้ web blog
ที่ ม.ราชภัฏยะลา

วันเสาร์ที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2557

เชิญชมละครเวที

พระอภัยมณี... ตอนพระอภัยมณีพบนางสุวรรณมาลี
เรื่องราวรักของเขาที่มีลูกมีเมียเป็นนางยักษ์แต่ตกหลุมรักนางเงือก แต่ความรักของเขาไม่จบเพียงเท่านั้นเมื่อเขาพบกับเธอ นางสุวรรณมาลี
นำแสดงโดย มรกต ชลนิภา อังคณา อภิสรา และทีมงานมัธยมศึกษาปีที่ 6/9
ณ หอประชุมโรงเรียนนราสิกขาลัย
วันศุกร์ที่20 มิถุนายน 2557
 ในงานวันสุนทรภู่ เวลา บ่ายสองโมงเป็นต้นไป

วันศุกร์ที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

กลุ่มสาระภาษาไทย โรงเรียนนราสิกขาลัย เชิญชวนทุกท่าน ร่วมกิจกรรมรำลึก ครูกลอนสุนทรภู่ ปีการศึกษา ๒๕๕๗


กลุ่มสาระภาษาไทย โรงเรียนนราสิกขาลัย
“เชิญชวนทุกท่าน ร่วมกิจกรรมรำลึก ครูกลอนสุนทรภู่” ปีการศึกษา  ๒๕๕๗


ประกวดวาดภาพ ตัวละครในวรรณคดีผลงานประพันธ์ กวีสุนทรภู่  

วันที่  ๙ – ๑๓  มิถุนายน  ๒๕๕๗
สถานที่ประกวด ...ห้องพักครูวิชา ภาษาไทย
(เดี่ยว) รับสมัครไม่จำกัดจำนวน แบ่งเป็น  ระดับ ม.ต้น  ม.ปลาย   
ประเภท ระบายสี  และประเภทแรเงา

ประกวดแต่งคำประพันธ์กลอนสุภาพจำนวน  ๒  บท  
วันที่ ๑๓  มิถุนายน  ๒๕๕๗
(ทีม ๒คน)   ระดับ ม.ต้น   ม.ปลาย
สถานที่แข่งขัน ห้อง ๒๔๑     (เวลา ๑๓.๐๐-๑๕.๐๐น.)

ประกวดอ่านทำนองเสนาะ
วันที่ ๑๓ มิถุนายน  ๒๕๕๗
(เดี่ยว) ระดับ ม.๑      /ม.๒     /ม.๓         /ม.ปลาย
สถานที่แข่งขัน ห้องศูนย์ภาษาไทย    (เวลา ๑๓.๐๐-๑๕.๐๐น.)

๒๐  มิถุนายน  ๒๕๕๗
   -    นิทรรศการ ชีวิตและผลงานกวีสุนทรภู่  
   -    ละครเวที
   -    ประกวดแต่งกายเลียนแบบตัวละครในวรรณคดี 
   -    ลุ้นโชค..รับรางวัล...”ขุมทรัพย์สุดสาคร”         
   -    ร่วมสนุก ตอบปัญหา..รับรางวัล

วันศุกร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

สักครั้งหนึ่งในชีวิตคุณต้องลิ้มลอง......"ปลากุเลาเค็มตากใบ"

         
                
            ณ ปัจจุบัน ทุกคนต้องรับประทานอาหาร แต่จะมีใครบ้างที่รู้จัก ? หรือ ไม่รู้จักปลากุเลา รู้หรือไม่ว่าปลากุเลานั้นหามากินยากมากเลยทีเดียวราคาแพงมากๆ ถ้าเทียบกับราคาอาหารชนิดอื่นๆ เนื้อปลากุเลาเค็มมีรสชาติที่ เค็ม มัน นิ่มๆ ฟู เมื่อนำมาทำเป็นยำจะไม่ธรรมดาเลยทีเดียวเชียวนะ!!
          " คนกินไม่ได้ซื้อ คนซื้อไม่ได้กิน ” คือคําจํากัดความของปลากุเลาตากแห้งจากตากใบ ความแพงอยู่ที่.. กิโลละพันกว่าบาท (ไม่ต่ำกว่า 1,200 บาท) ทําให้สิ่งนี้กลายเป็นของฝากจากตากใบที่ผู้รับย่อมยินดี ปลากุเลาตากใบจะผ่านกรรมวิธีที่พิถีพิถัน ว่ากันว่าจะให้ดีต้องไม่ผ่านน้ำจืดเลย คือขึ้นมาจากน้ำเค็มแล้วก็นํามาหมักเกลือ เวลาตากแห้งห้อยหัวลง  ใช้กระดาษห่อปิดหัวปลาไว้เพื่อกันไม่ให้แมลงวันเจาะเข้าไปวางไข่ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดหนอน ผู้บริโภคมั่นใจได้เลยว่าปลากุเลาตากใบ ไม่มีการฉีดสารเคมีใดๆ เพื่อกันแมลง   เรื่องการติดต่อซื้อขาย คนที่ตั้งใจไปซื้อบางครั้งอาจจะผิดหวังเพราะความต้องการที่มีมากทำให้ปลาที่ตากนั้นแทบจะมีคนจับจองหมด หรือหากไปช่วงที่ปลาตากไม่ได้ที่ก็ต้องผิดหวังเช่นกัน 
                     ร้านอาหารหลายแห่ง มีชื่อทั้งหลายไม่ว่าจะที่ตากใบหรือปัตตานี หากมีเมนูปลากุเลาทอดก็จะต้องเป็นปลากุเลาตากใบเท่านั้นเพื่อไม่ให้เสียชื่อของอร่อยชนิดนี้ อย่างไรก็ตาม เราไม่ควรที่จะรับประทานอาหารที่รสเค็มจัดเกินไปเพราะอาจทำให้มีโรคไตแถมมากับความเค็ม ก็   เป็น  ได้.....            
                    ปลากุเลาเค็ม เป็นอาหารและสินค้าที่ขึ้นชื่อของอำเภอตากใบ จ.นราธิวาส

วันจันทร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

เยี่ยมชมวัดพระพุทธ

           
                                   

ไฟล์:วัดพระพุทธ นราธิวาส.PNG
           สถานที่สำคัญหลายแห่งในประเทศไทย มักจะเป็นศาสนสถาน ปราสาท หรือพระราชวังโบราณ ในจังหวัดนราธิวาสนั้น มีสถานที่สำคัญที่น่าสนใจหลายแห่ง แต่มีวัดแห่งหนึ่งที่ผู้คนที่มาจังหวัดนราธิวาส อยากไปแวะเยี่ยมชม คือวัดพระพุทธ
         วัดพระพุทธ  เป็นวัดที่เก่าเเก่คู่บ้านคู่เมืองของไทยตั้งอยู่ในแนวแขตดินแดนระหว่างประเทศไทยกับประเทศมาเลเซียบริเวณตำบลพร่อน อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส เป็นวัดที่มีเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญ   ที่วัดพระพุทธ   ภายในอุโบสถ มีลักษณะทางสถาปัตยกรรมที่งดงาม   เเละมีเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ที่น่าทึ่งที่ว่า   ในอดีต กรณีเสียดินแดนให้อังกฤษ ได้ทำ "สนธิสัญญาตาบา" ระหว่างรัฐบาลสยามกับรัฐบาลอังกฤษ มีการใช้สถานที่ของวัดนี้ เป็นแนวเขตแบ่งปันดินแดน กรณีพิพาทแนวแขตดินแดนระหว่างประเทศไทยกับประเทศมาเลเซียบริเวณตำบลพร่อน อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส ผู้คนบริเวณวัดพระพุทธและคนในชุมชน มีวัฒนธรรมประเพณี วิถีชีวิตเป็นของไทย ดังนั้น ดินแดนตำบลพร่อนอำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส จึงเป็นสิทธิปกครองและเขตดินแดนของประเทศไทยแต่นั้นมา
        ใกล้กับวัดยังมีสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจ  เช่นด่าน ตาบา จึงขอชวนให้ทุกท่านไปสัมผัสบรรยากาศ วัดพระพุทธ อ.ตากใบ จังหวัดนราธิวาสเพื่อชื่นชมความงามของวัดร่วมกัน
อ้าอิง 
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9E%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%98#.E0.B8.9B.E0.B8.A3.E0.B8.B0.E0.B8.








หัตถกรรมกระจูดของชาวนรา



                    ภูมิปัญญาของคนสมัยก่อน มีมากมายเขาสามารถนำวัสดุจากธรรมชาติมาใช้ให้เกิดประโยชน์และสวยงามมากมาย เช่น งานจักสาน โดยเฉพาะงานจักสานเสื่อกระจูดของชาวบ้าน ที่บ้านทอน จ.นราธิวาส          
                    งานกระจูด วัฒนธรรมและประเพณีของดีของชุมชนบ้านทอน มีมาตั้งแต่โบราณจนอาจเลือนหายไปหากเราไม่เรียนรู้ไม่ส่งเสริมวัฒนธรรม งานฝีมือต่างๆ จะหายไปในที่สุด

      ด้วยพระเมตตาพระกรุณาในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระองค์ได้ทอดพระเนตรเห็นเสื่อกระจูดที่ราษฎรนำมาปูเป็นลาดพระบาทในการรับเสด็จฯ ก็ทรงสนพระทัยมาก ทรงทราบว่ากระจูดเป็นพืชที่ขึ้นตามหนองน้ำ และพื้นที่ทั่วไปในภาคใต้ โดยเฉพาะที่จังหวัดนราธิวาสซึ่งเสื่อกระจูดที่ราษฎรนำมาปูถวายนั้นมีลวดลายสีสันงดงามแปลกตา จึงทรงตั้งกลุ่มจักสานเสื่อกระจูดขึ้น โดยให้ใช้ลวดลายแบบโบราณโปรดให้เก็บรักษาลวดลายต่างๆเหล่านั้นไว้ ต่อมาได้มีการพัฒนาโดยทรงจัดให้มีการแข่งขันในการสาน การประกวดลวดลาย เพื่อให้มีการพัฒนารูปแบบ และรูปทรงของผลิตภัณฑ์ประเภทต่างๆ เช่น ทำซอง เป็นกล่องเป็นกระเป๋า เพื่อใส่สิ่งของ เป็นต้น โดยจังหวัดนราธิวาสจะจัดงาน วันกระจูด อยู่ในงานของดีเมืองนรา             


 กระจูดเป็นหญ้าลำต้นกลมสูง จะขึ้นอยู่มากในป่าพรุ ประโยชน์ของต้นกระจูด เมื่อนำไปผึ่งแดดให้แห้งสนิท สามารถนำมาผลิตงานจักสานเป็น เสื่อปูรองนั่งที่เรียกกันว่า เสื่อกระจูด หรือ สาดกระจูด โดยการสานเสื่อกระจูดโดยทั่วไปนิยมสานลวดลาย มาตรฐาน คือ ลายขัดสอง หรือลายขัดสาม และมีการพัฒนาดัดแปลงลวดลาย เช่น ลายลูกแก้ว ลายดาวล้อมเดือน ลายดอกจันทร์ ลายก้านต่อดอก ลายโคม ลายแก้วเนื่อง ลายแก้วบ้านดอน ลายตัวหนังสือ เป็นต้น และมีการทำผลิตภัณฑ์เช่น สายกระเป๋าเครื่องใช้ต่าง ๆ ใช้ทำใบเรือ ทำเชือกผูกมัด

          ปัจจุบันความนิยมในการใช้ผลิตภัณฑ์ กระจูดลดลง ผู้คนนิยมใช้พลาสติก หรือเครื่องหนังเทียม หนังแท้ จะทำอย่างไรดี ให้ กระจูด ความงามของลายเส้นนี้ได้อยู่คู่ท้องถิ่นตลอดไป