แผนการจัดการเรียนรู้

แผนการจัดการเรียนรู้
รายวิชา ท๒๒๑๐๒ ภาษาไทย ๔                                 ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒
หน่วยการเรียนรู้ที่ ๒ สร้างสรรค์งานเขียน                     เรื่อง การเขียนเรียงความผ่านเว็บบล็อก
เวลาสอน  ๔  ชั่วโมง 
มาตรฐาน
            ท ๒.๑ ใช้กระบวนการเขียนสื่อสาร เขียนเรียงความ ย่อความและเขียนเรื่องราวในรูปแบบต่างๆ เขียนรายงานข้อมูลสารสนเทศและรายงานการค้นคว้าอย่างมีประสิทธิภาพ
ตัวชี้วัด
            ม.๒/๓ เขียนเรียงความได้
            ม.๒/๘ มีมารยาทในการเขียน     
      จุดประสงค์การเรียนรู้
๑.     บอกองค์ประกอบของเรียงความได้
๒.     บอกกระบวนการเขียนเรียงความได้
๓.     เขียนเรียงความตามหัวข้อที่กำหนดให้ได้
๔.     เลือกสรรถ้อยคำที่จะนำมาเขียนเรียงความได้
            ๕.     เขียนเรียงความเกี่ยวกับประสบการณ์ได้ 
สาระสำคัญ
            เรียงความเป็นการนำเสนอความรู้ความคิดตามหัวข้อเรื่องที่เขียน โดยนำเสนอครบถ้วนตามรูปแบบ นำเสนอประเด็นสำคัญต่างๆ อย่างน่าสนใจประกอบด้วยข้อเท็จจริง ความคิดเห็น ข้อเสนอแนะสื่อถึงจินตภาพของผู้เขียน โดยใช้สำนวนโวหารที่เหมาะสม
สาระการเรียนรู้
๑.     ความหมายของเรียงความ
๒.     องค์ประกอบของเรียงความ
๓.     กระบวนการเขียนเรียงความ
๔.     การวางโครงเรื่องในการเขียนเรียงความ
๕.     การสรรคำใช้
๖.     การเขียนเรียงความเกี่ยวกับเรื่องที่กำหนด
            ๗.  ตัวอย่างเรียงความที่ดีและได้รับรางวัล
กิจกรรมการเรียนรู้ (๔ ชั่วโมง)

ชั่วโมงที่ ๑ แนะนำกระบวนการเรียนรู้ด้วยเว็บบล็อก
ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
สื่อ/แหล่งเรียนรู้
๑)เว็บบล็อกของครู    Gmail ของครูผู้สอนและนักเรียน
๒)แบบทดสอบก่อนเรียน
คำถามกระตุ้นการคิด
๑)นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน ๒ ฉบับ คือ
   ฉบับที่ ๑ เรื่อง ความรู้และทักษะการใช้ ICT สำหรับการเรียนรู้
                         ( ๑๐ ข้อ)
   ฉบับที่ ๒ เรื่อง การเขียนเรียงความ ( ๑๐ ข้อ)
๑)นักเรียนมีประสบการณ์ใช้คอมพิวเตอร์หรืออินเตอร์เน็ตในการเรียนรู้หรือไม่ ถ้ามีให้บอกเล่าประสบการณ์ในการใช้งาน

ขั้นสอน
สื่อ/แหล่งเรียนรู้
๑)เว็บบล็อกของผู้สอน ๒) Gmail ของครูผู้สอนและนักเรียน
คำถามกระตุ้นความคิด
๑.     ครูให้นักเรียนแจ้งชื่อที่อยู่ Gmail โดยการส่งอีเมล์ถึงครู
ผู้สอนจากนั้น ผู้สอนบันทึกกลุ่มเมล์เพื่อความสะดวกในการติดต่อแจ้งข่าวสารแก่นักเรียน
๒.     ครูเพิ่มชื่อนักเรียนในเว็บบล็อกและบอกวิธีการตอบรับเป็นผู้เขียนในเว็บบล็อกโดยการเปิดอีเมล์เพื่อยืนยัน
๓.     ครูแนะนำที่อยู่เว็บบล็อกสำหรับจัดการเรียนรู้และ
วิธีการเข้าใช้เว็บบล็อก การทดลองเปิดเนื้อหาในหน้าเว็บของบล็อก
๔.     ครูแจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้และรูปแบบการเรียนรู้ตามแผนการเรียนรู้
๕.  ครูแนะนำวิธีการเขียนบทความในเว็บบล็อกของครู
๖.  ครูสร้างกลุ่ม ภาษาไทย ม.๒ ใน Facebook และให้
นักเรียนสมัครขอเป็นเพื่อนในกลุ่ม เพื่อใช้ในการสื่อสารและแลกเปลี่ยนเรียนรู้
     ๗.  ผู้สอนแนะนำวิธีการแชร์เรื่องราวในเว็บบล็อกไปเผยแพร่
             ที่ Facebook  ของกลุ่มที่ผู้สอนกำหนดไว้
๑.  นักเรียนคนใดมีอีเมล์ที่เป็น  
      บริการของ Gmail แล้ว  
      บ้าง กรณียังไม่มีให้  
      สมัคร แล้วส่งอีเมล์มาถึง
      ผู้สอน โดยมีที่อีเมล์ของ    
      ผู้สอน  คือ    
      kruyadfon@Gmail.com
๒.     นักเรียนที่ใช้  Facebook
เป็นแล้วนักเรียนจะค้นหา
      ชื่อผู้ใช้ของครูให้พบได้
      อย่างไร
๓.  กรณีคนใดยังไม่เปิดใช้งาน
      Facebook นักเรียนมีวิธีการสมัครอย่างไร ใครสามารถแนะนำขั้นตอนสมัครได้

ขั้นสรุป
สื่อ/แหล่งเรียนรู้
๑)เว็บบล็อก Gmail ของครูผู้สอนและนักเรียน
คำถามกระตุ้นความคิด
๑.     ครูสรุปขั้นตอนการเข้าใช้เว็บบล็อก และการเขียนเรียงความในเว็บบล็อกของครู
๒.     ครูให้นักเรียนทดลองเขียนเรื่องในเว็บบล็อกของครูโดยให้นักเรียนเขียนแนะนำตนเองพร้อมแทรกภาพหรือวีดีทัศน์ประกอบ
๑.  นักเรียนจะเข้าใช้เว็บบล็อกของครู มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง
 ๒. ถ้าจะเขียนเรียงความ ในเว็บบล็อกของครูจะทำอย่างไร
ชั่วโมงที่ ๒ ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเรียงความ
ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
สื่อ/แหล่งเรียนรู้
๑)เว็บบล็อก Gmail ของครูผู้สอนและนักเรียน
คำถามกระตุ้นการคิด
๑)ครูทบทวนขั้นตอนการเข้าใช้เว็บบล็อกของครูผู้สอน
๒)ครูแจ้งให้ทราบว่ามีนักเรียนคนใดบ้างที่เขียนแนะนำตนเอง
    ในเว็บบล็อกแล้ว ส่วนผู้ที่ยังไม่เขียนแนะนำตนเองให้ดำเนินการ เพื่อจะได้ตรวจสอบว่าใครสามารถเขียนในเว็บบล็อกได้          
๑)ใครสามารถบอกขั้นตอนการเข้าใช้เว็บบล็อกของครูผู้สอนได้บ้าง ให้อธิบาย และทดลองให้ทุกคนเข้าใช้เว็บบล็อกของครูผู้สอน
ขั้นสอน
สื่อ/แหล่งเรียนรู้
๑)เว็บบล็อกของผู้สอน ๒) Gmail ของครูผู้สอนและนักเรียน
๒)ใบความรู้ที่ ๑ เรื่อง ความรู้เกี่ยวกับเรียงความ
๓)ใบงานที่ ๑ เรื่อง เรียงความเชิงสร้างสรรค์
คำถามกระตุ้นความคิด
        ๑.  ครูให้นักเรียนศึกษาใบความรู้ที่ ๑ เรื่อง ความรู้
              เกี่ยวกับเรียงความ
        ๒.  ครูให้นักเรียนร่วมกันอภิปรายความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับ
              เรียงความ อาทิ ประเภทของเรียงความ ครูสรุปและยกตัวอย่างเรียงความประเภทต่างๆ
        ๓.  ครูให้นักเรียนชี้ส่วนที่เป็นคำนำ เนื้อเรื่อง สรุป
        ๔.  ให้นักเรียนทำกิจกรรม ใบงานที่ ๑ เรียงความอย่าง
              สร้างสรรค์
๑.  นักเรียนทราบหรือไม่ว่าเรียงความคืองานเขียนที่มีลักษณะอย่างไร โดยนักเรียนค้นหาคำตอบจากอินเทอร์เน็ตได้
๒.  เรียงความ มีกี่ประเภท อะไรบ้าง
๓.  ส่วนประกอบของ เรียงความ มีอะไรบ้าง
ขั้นสรุป
สื่อ/แหล่งเรียนรู้
๑)เว็บบล็อก Gmail ของครูผู้สอนและGmail นักเรียน
๒)ใบงานที่ ๑ เรื่อง เรียงความเชิงสร้างสรรค์
คำถามกระตุ้นความคิด
๑.     ผู้ใช้คำถามเพื่อสรุปเนื้อหาเกี่ยวกับลักษณะของเรียงความ ประเภทของเรียงความ องค์ประกอบของเรียงความ
๒.     ครูให้นักเรียนศึกษาใบความรู้ที่ ๑ ทบทวนเนื้อหา และศึกษาใบงานที่ ๑ เพื่อสืบค้นและจัดเตรียมข้อมูลเกี่ยวข้องและที่สนใจสำหรับการเขียนเรียงความตามรายละเอียดในใบงานที่ ๑ ในการเรียนครั้งต่อไป
๑.  เรียงความมีลักษณะอย่างไร
     มีประเภทใดบ้าง
 ๒. องค์ประกอบสำคัญมีกี่ส่วน อะไรบ้าง
  ๓.  หลังจากศึกษารายละเอียด ในใบงานที่ ๑ แล้ว  นักเรียนจะเขียนเรียงความ     ลงในเว็บบล็อกของครูนักเรียน มีขั้นตอนอย่างไร
ชั่วโมงที่ ๓  เทคนิคการเขียนเรียงความ
ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
สื่อ/แหล่งเรียนรู้
๑)เว็บบล็อก Gmail ของครูผู้สอนและนักเรียน
คำถามกระตุ้นการคิด
๑)ครูทบทวนขั้นตอนการเข้าใช้เว็บบล็อกของครูผู้สอน
๒)ครูใช้คำถามเพื่อทบทวนเนื้อหาเกี่ยวกับลักษณะของเรียงความ ประเภทของเรียงความ และองค์ประกอบของเรียงความ           
๑)เรียงความมีลักษณะอย่างไร
๒)เรียงความมีประเภทใดบ้าง
๓)องค์ประกอบของเรียงความมีอะไรบ้าง
ชั่วโมงที่ ๓  เทคนิคการเขียนเรียงความ
ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
สื่อ/แหล่งเรียนรู้
๑)เว็บบล็อก Gmail ของครูผู้สอนและนักเรียน
คำถามกระตุ้นการคิด
๑)ครูทบทวนขั้นตอนการเข้าใช้เว็บบล็อกของครูผู้สอน
๒)ครูใช้คำถามเพื่อทบทวนเนื้อหาเกี่ยวกับลักษณะของเรียงความ ประเภทของเรียงความ และองค์ประกอบของเรียงความ           
๑)เรียงความมีลักษณะอย่างไร
๒)เรียงความมีประเภทใดบ้าง
๓)องค์ประกอบของเรียงความมีอะไรบ้าง
ขั้นสอน
สื่อ/แหล่งเรียนรู้
๑)เว็บบล็อกของผู้สอน  Gmail ของครูผู้สอนและนักเรียน
๒)ใบความรู้ที่ ๒ เรื่อง เทคนิคการเขียนเรียงความที่ดี
คำถามกระตุ้นความคิด
        ๑.  ครูให้นักเรียนอภิปรายถึงลักษณะเรียงความที่ดี
              ครูสรุปลักษณะเรียงความที่ดีอีกครั้งหนึ่ง                 
   ๒.  นักเรียนร่วมกันอภิปรายถึงแนวทางการเลือกเรื่องการตั้งชื่อเรื่อง เลือกประเภทเรื่องที่จะเขียน แล้วสรุปหัวข้อที่จะเขียน
  ๓.  ครูอธิบายถึงวิธีการวางโครงเรื่องก่อนเขียนเรียงความ
        ๔.  ครูอธิบายถึงหลักของการเขียนให้มี เอกภาพ สัมพันธภาพ และสารัตถภาพ การใช้สำนวนภาษา
        ๕.  ครูบอกหลักการเชื่อมโยงย่อหน้า
        ๖.  ครูอธิบายหลักการ แบ่งวรรคตอน และเครื่องหมายวรรคตอนในการเขียน
        ๗.  นักเรียนทำกิจกรรม ใบงานที่ ๑ ต่อเนื่องจากครั้งที่ผ่านมา
๑.  เรียงความที่ดีมีลักษณะอย่างไร
๒.  การวางโครงเรื่องก่อนเขียนเรียงความมีประโยชน์ อย่างไร
๓.  ย่อหน้าที่ดีมีลักษณะ
อย่างไร
ขั้นสรุป
สื่อ/แหล่งเรียนรู้
๑)เว็บบล็อก Gmail ของครูผู้สอนและGmail นักเรียน
๒)ใบงานที่ ๑  เรื่อง การเขียนเรียงความอย่างสร้างสรรค์
คำถามกระตุ้นความคิด
๑.  ครูใช้คำถามเพื่อเป็นการสรุปเนื้อหาเกี่ยวกับ
      เนื้อหาต่าง ๆ ที่เรียน
๒.  ครูมอบหมายให้ผู้เรียนทำกิจกรรม ใบงานที ๑
      เป็นงานที่มอบหมายให้ทำเป็นการบ้านส่งเรียงความ
      โดยการเขียนเรียงความในเว็บบล็อกของครูผู้สอน
๑.  นักเรียนเลือกเรื่องสำหรับเขียนเป็นเรื่องใดบ้าง
๒.  นักเรียนวางโครงเรื่องอย่างไร
๓.  ย่อหน้าที่ดีในเรียงความ มีหลักการอย่างไร
๔.  คำว่าเอกภาพ
สัมพันธภาพ และสารัตถภาพ
หมายความว่าอย่างไร
ชั่วโมงที่ ๔  การประเมินและข้อแนะนำเพื่อพัฒนาการเขียนเชิงสร้างสรรค์ผ่านเว็บบล็อก
ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
สื่อ/แหล่งเรียนรู้
๑)เว็บบล็อก Gmail ของครูผู้สอนและนักเรียน
คำถามกระตุ้นการคิด
๑)ครูแจ้งทางหน้าเว็บบล็อกให้นักเรียน เขียนเรียงความและส่งงานในเว็บบล็อกตามกำหนด
๒)ครูแจ้งทางหน้าเว็บบล็อกในเรื่องราวอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

ขั้นสอน
สื่อ/แหล่งเรียนรู้
๑)เว็บบล็อกของผู้สอน  Gmail ของครูผู้สอนและนักเรียน
๒)ใบความรู้ที่ ๒ เรื่อง เทคนิคการเขียนเรียงความที่ดี
คำถามกระตุ้นความคิด
        ๑.  ครูประเมินให้คะแนนผลงานการเขียนเรียงความ
              ตามหัวข้อเรื่อง ครั้งที่ ๑ และให้คำแนะนำในการเขียน
              เรียงความของแต่ละคน(ให้เวลานักเรียน ๑ สัปดาห์
              เพื่อปรับปรุงผลงาน)                  
   ๒.  ครูประเมินให้คะแนนผลงานการเขียนเรียงความ
             ครั้งที่ ๒ ให้คำแนะนำการเรียงความของแต่ละคน
             (ให้เวลานักเรียน ๑ สัปดาห์เพื่อปรับปรุงผลงาน)                   
๑.     ครูประเมินผลงานการเขียนเรียงความครั้งที่ ๓
       (เป็นการประเมินครั้งสุดท้าย)

ขั้นสรุป
สื่อ/แหล่งเรียนรู้
๑)เว็บบล็อก Gmail ของครูผู้สอนและGmail นักเรียน
๒)ใบงานที่ ๑  เรื่อง การเขียนเรียงความอย่างสร้างสรรค์
คำถามกระตุ้นความคิด
๑.     ครูแจ้งคะแนนผลการประเมินใบงานที่ ๑
      ทั้ง ๓ ครั้ง ผ่านเว็บบล็อก ทั้งกลุ่มเรียนเพื่อให้นักเรียน
      ทุกคนรับทราบการพัฒนาของตนเอง
๒.  ครูให้นักเรียนทำแบบ ทดสอบหลังเรียน ๒ ฉบับคือ     
      ฉบับที่ ๑ ความรู้และทักษะการใช้ ICT สำหรับการเรียนรู้
      (๑๐ข้อ)
๓.  ครูให้นักเรียนทำแบบประเมินความพึงพอใจของผู้เรียน
           ที่มีการเรียนผ่านเว็บบล็อก

สื่อการเรียนรู้
๑.  เว็บบล็อกของผู้สอนที่เผยแพร่ไว้ที่ http:// narasikkalaithai.blogspot.com
๒.  แบบทดสอบความรู้ก่อน-หลังเรียน เรื่อง ความรู้และทักษะการใช้ ICT เพื่อการเรียนรู้
      จำนวน ๑๐ ข้อ
๓.  ข้อแบบทดสอบความรู้ก่อน-หลังเรียน เรื่อง การเขียนเรียงความ จำนวน ๑๐ ข้อ
๔.  ใบความรู้ที่ ๑  เรื่อง ความรู้เกี่ยวกับการเขียนเรียงความ (เผยแพร่ในเว็บบล็อก)
๕.  ใบความรู้ที่ ๒  เรื่อง เทคนิคการเขียนเรียงความที่ดี (เผยแพร่ในเว็บบล็อก)
๖.  ใบงานที่ ๑  เรื่อง การเขียนเรียงความเชิงสร้างสรรค์ (คะแนนเต็ม ๒๐ คะแนน)
๗.  แบบประเมินความพึงพอใจของผู้เรียนที่มี ต่อรูปแบบการเรียนรู้ (แบบ ๕ ระดับ)
๘.  แหล่งเรียนรู้เพิ่มเติมในอินเทอร์เน็ตที่เกี่ยวข้อง (แหล่งเรียนรู้เพิ่มเติมเผยแพร่ในเว็บบล็อก)
๙.  คอมพิวเตอร์อินเทอร์เน็ต

การวัดและประเมินผลการเรียนรู้
๑. สิ่งที่จะวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้
    ๑.๑  จุดประสงค์การเรียนรู้ เรื่อง การเขียนเรียงความ
    ๑.๒  ผลการปฏิบัติกิจกรรมในใบงานที่ ๑ การเขียนเรียงความ
๒.  วิธีการวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้
     ๒.๑  ทดสอบตามวัตถุประสงค์ด้วยแบบทดสอบแบบตัวเลือก จำนวน ๑๐ ข้อ
     ๒.๒  ตรวจผลการปฏิบัติกิจกรรมใบงานที่ ๑ การเขียนเรียงความ
๓.  เครื่องมือวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้
    ๓.๑  แบบทดสอบความรู้ก่อน - หลังเรียน เรื่อง ความรู้และทักษะการใช้ ICT เพื่อการเรียนรู้จำนวน ๑๐ ข้อ
    ๓.๒  แบบทดสอบความรู้ก่อน - หลังเรียน เรื่อง การเขียนเรียงความ จำนวน ๑๐ ข้อ
    ๓.๓  แบบประเมินผลการเขียนเรียงความคะแนนเต็ม  ๓๐ คะแนน
    ๓.๔ แบบประเมินความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อรูปแบบการเรียนรู้ ๕ ระดับ ดังนี้
           มากสุด ๕  มาก ๔  ปานกลาง ๓  น้อย ๒  น้อยที่สุด ๑
๔. เกณฑ์การวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้
     ๔.๑ เกณฑ์การวัดผลจากแบบทดสอบ  ตอบถูกได้ ๑ คะแนน  ตอบผิดได้ ๐ คะแนน
     ๔.๒  เกณฑ์และการให้คะแนนการเขียนเรียงความ ตามหัวข้อดังนี้
            ๔.๒.๑ การวางโครงเรื่อง
            ๔.๒.๒  การเขียนคำนำ
            ๔.๒.๓ การเสนอเนื้อเรื่อง
            ๔.๒.๔  การสรุป
            ๔.๒.๕ การใช้ถ้อยคำสำนวนเหมาะสมกับเนื้อเรื่อง
            ๔.๒.๖ มีสัมพันธภาพ มีภาพหรือวิดีทัศน์สัมพันธ์กับเนื้อหา
                      ระดับคะแนน
                      ดีมาก           ๕ คะแนน
                      ดี                 ๔  คะแนน
                      พอใช้           ๓  คะแนน
                      ปรับปรุง        ๒  คะแนน
                      ปรับปรุงมาก  ๑  คะแนน   

1 ความคิดเห็น: