วันศุกร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

สักครั้งหนึ่งในชีวิตคุณต้องลิ้มลอง......"ปลากุเลาเค็มตากใบ"

         
                
            ณ ปัจจุบัน ทุกคนต้องรับประทานอาหาร แต่จะมีใครบ้างที่รู้จัก ? หรือ ไม่รู้จักปลากุเลา รู้หรือไม่ว่าปลากุเลานั้นหามากินยากมากเลยทีเดียวราคาแพงมากๆ ถ้าเทียบกับราคาอาหารชนิดอื่นๆ เนื้อปลากุเลาเค็มมีรสชาติที่ เค็ม มัน นิ่มๆ ฟู เมื่อนำมาทำเป็นยำจะไม่ธรรมดาเลยทีเดียวเชียวนะ!!
          " คนกินไม่ได้ซื้อ คนซื้อไม่ได้กิน ” คือคําจํากัดความของปลากุเลาตากแห้งจากตากใบ ความแพงอยู่ที่.. กิโลละพันกว่าบาท (ไม่ต่ำกว่า 1,200 บาท) ทําให้สิ่งนี้กลายเป็นของฝากจากตากใบที่ผู้รับย่อมยินดี ปลากุเลาตากใบจะผ่านกรรมวิธีที่พิถีพิถัน ว่ากันว่าจะให้ดีต้องไม่ผ่านน้ำจืดเลย คือขึ้นมาจากน้ำเค็มแล้วก็นํามาหมักเกลือ เวลาตากแห้งห้อยหัวลง  ใช้กระดาษห่อปิดหัวปลาไว้เพื่อกันไม่ให้แมลงวันเจาะเข้าไปวางไข่ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดหนอน ผู้บริโภคมั่นใจได้เลยว่าปลากุเลาตากใบ ไม่มีการฉีดสารเคมีใดๆ เพื่อกันแมลง   เรื่องการติดต่อซื้อขาย คนที่ตั้งใจไปซื้อบางครั้งอาจจะผิดหวังเพราะความต้องการที่มีมากทำให้ปลาที่ตากนั้นแทบจะมีคนจับจองหมด หรือหากไปช่วงที่ปลาตากไม่ได้ที่ก็ต้องผิดหวังเช่นกัน 
                     ร้านอาหารหลายแห่ง มีชื่อทั้งหลายไม่ว่าจะที่ตากใบหรือปัตตานี หากมีเมนูปลากุเลาทอดก็จะต้องเป็นปลากุเลาตากใบเท่านั้นเพื่อไม่ให้เสียชื่อของอร่อยชนิดนี้ อย่างไรก็ตาม เราไม่ควรที่จะรับประทานอาหารที่รสเค็มจัดเกินไปเพราะอาจทำให้มีโรคไตแถมมากับความเค็ม ก็   เป็น  ได้.....            
                    ปลากุเลาเค็ม เป็นอาหารและสินค้าที่ขึ้นชื่อของอำเภอตากใบ จ.นราธิวาส

วันจันทร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

เยี่ยมชมวัดพระพุทธ

           
                                   

ไฟล์:วัดพระพุทธ นราธิวาส.PNG
           สถานที่สำคัญหลายแห่งในประเทศไทย มักจะเป็นศาสนสถาน ปราสาท หรือพระราชวังโบราณ ในจังหวัดนราธิวาสนั้น มีสถานที่สำคัญที่น่าสนใจหลายแห่ง แต่มีวัดแห่งหนึ่งที่ผู้คนที่มาจังหวัดนราธิวาส อยากไปแวะเยี่ยมชม คือวัดพระพุทธ
         วัดพระพุทธ  เป็นวัดที่เก่าเเก่คู่บ้านคู่เมืองของไทยตั้งอยู่ในแนวแขตดินแดนระหว่างประเทศไทยกับประเทศมาเลเซียบริเวณตำบลพร่อน อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส เป็นวัดที่มีเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญ   ที่วัดพระพุทธ   ภายในอุโบสถ มีลักษณะทางสถาปัตยกรรมที่งดงาม   เเละมีเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ที่น่าทึ่งที่ว่า   ในอดีต กรณีเสียดินแดนให้อังกฤษ ได้ทำ "สนธิสัญญาตาบา" ระหว่างรัฐบาลสยามกับรัฐบาลอังกฤษ มีการใช้สถานที่ของวัดนี้ เป็นแนวเขตแบ่งปันดินแดน กรณีพิพาทแนวแขตดินแดนระหว่างประเทศไทยกับประเทศมาเลเซียบริเวณตำบลพร่อน อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส ผู้คนบริเวณวัดพระพุทธและคนในชุมชน มีวัฒนธรรมประเพณี วิถีชีวิตเป็นของไทย ดังนั้น ดินแดนตำบลพร่อนอำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส จึงเป็นสิทธิปกครองและเขตดินแดนของประเทศไทยแต่นั้นมา
        ใกล้กับวัดยังมีสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจ  เช่นด่าน ตาบา จึงขอชวนให้ทุกท่านไปสัมผัสบรรยากาศ วัดพระพุทธ อ.ตากใบ จังหวัดนราธิวาสเพื่อชื่นชมความงามของวัดร่วมกัน
อ้าอิง 
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9E%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%98#.E0.B8.9B.E0.B8.A3.E0.B8.B0.E0.B8.








หัตถกรรมกระจูดของชาวนรา



                    ภูมิปัญญาของคนสมัยก่อน มีมากมายเขาสามารถนำวัสดุจากธรรมชาติมาใช้ให้เกิดประโยชน์และสวยงามมากมาย เช่น งานจักสาน โดยเฉพาะงานจักสานเสื่อกระจูดของชาวบ้าน ที่บ้านทอน จ.นราธิวาส          
                    งานกระจูด วัฒนธรรมและประเพณีของดีของชุมชนบ้านทอน มีมาตั้งแต่โบราณจนอาจเลือนหายไปหากเราไม่เรียนรู้ไม่ส่งเสริมวัฒนธรรม งานฝีมือต่างๆ จะหายไปในที่สุด

      ด้วยพระเมตตาพระกรุณาในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระองค์ได้ทอดพระเนตรเห็นเสื่อกระจูดที่ราษฎรนำมาปูเป็นลาดพระบาทในการรับเสด็จฯ ก็ทรงสนพระทัยมาก ทรงทราบว่ากระจูดเป็นพืชที่ขึ้นตามหนองน้ำ และพื้นที่ทั่วไปในภาคใต้ โดยเฉพาะที่จังหวัดนราธิวาสซึ่งเสื่อกระจูดที่ราษฎรนำมาปูถวายนั้นมีลวดลายสีสันงดงามแปลกตา จึงทรงตั้งกลุ่มจักสานเสื่อกระจูดขึ้น โดยให้ใช้ลวดลายแบบโบราณโปรดให้เก็บรักษาลวดลายต่างๆเหล่านั้นไว้ ต่อมาได้มีการพัฒนาโดยทรงจัดให้มีการแข่งขันในการสาน การประกวดลวดลาย เพื่อให้มีการพัฒนารูปแบบ และรูปทรงของผลิตภัณฑ์ประเภทต่างๆ เช่น ทำซอง เป็นกล่องเป็นกระเป๋า เพื่อใส่สิ่งของ เป็นต้น โดยจังหวัดนราธิวาสจะจัดงาน วันกระจูด อยู่ในงานของดีเมืองนรา             


 กระจูดเป็นหญ้าลำต้นกลมสูง จะขึ้นอยู่มากในป่าพรุ ประโยชน์ของต้นกระจูด เมื่อนำไปผึ่งแดดให้แห้งสนิท สามารถนำมาผลิตงานจักสานเป็น เสื่อปูรองนั่งที่เรียกกันว่า เสื่อกระจูด หรือ สาดกระจูด โดยการสานเสื่อกระจูดโดยทั่วไปนิยมสานลวดลาย มาตรฐาน คือ ลายขัดสอง หรือลายขัดสาม และมีการพัฒนาดัดแปลงลวดลาย เช่น ลายลูกแก้ว ลายดาวล้อมเดือน ลายดอกจันทร์ ลายก้านต่อดอก ลายโคม ลายแก้วเนื่อง ลายแก้วบ้านดอน ลายตัวหนังสือ เป็นต้น และมีการทำผลิตภัณฑ์เช่น สายกระเป๋าเครื่องใช้ต่าง ๆ ใช้ทำใบเรือ ทำเชือกผูกมัด

          ปัจจุบันความนิยมในการใช้ผลิตภัณฑ์ กระจูดลดลง ผู้คนนิยมใช้พลาสติก หรือเครื่องหนังเทียม หนังแท้ จะทำอย่างไรดี ให้ กระจูด ความงามของลายเส้นนี้ได้อยู่คู่ท้องถิ่นตลอดไป

ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง

ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง


                  เนื่องจากจังหวัดนราธิวาส เป็นพื้นที่ลุ่มต่ำน้ำขังตลอดปีเรียกว่า ดินพรุ ซึ่งมีอยู่ในจังหวัดนราธิวาสและจังหวัดใกล้เคียงถึงประมาณ ๔๐๐,๐๐๐ ไร่ ดินพรุมีคุณภาพต่ำ แม้ระบายน้ำออกแล้ว ก็เพาะปลูกไม่ได้ผล เพราะดินมีสารประกอบไพไรท์ ทำให้เกิดกรดกำมะถัน เมื่อดินแห้งทำให้ดินเปรี้ยวจัดเป็นอันตรายต่อการเจริญเติบโตของพืช เมื่อราษฎรประกอบอาชีพเกษตรกรรมไม่ได้ผล พื้นที่ดินจำนวนมากจึงถูกทิ้งให้รกร้างเปล่าประโยชน์
                  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระราชดำริให้ก่อตั้งศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ ขึ้น เมื่อพุทธศักราช 2524 โครงการตั้งอยู่ระหว่างบ้านพิกุลทอง บ้านโคกสยา ตำบลกะลุวอเหนือ อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส ห่างจากตัวเมืองไป 8 กิโลเมตร                                                                                                     
               ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เป็นศูนย์รวมกำลังของเจ้าหน้าที่ด้านเกษตร สังคม และการส่งเสริมการศึกษามารวมอยู่ด้วยกัน เพื่อให้ความรู้ และช่วยอนุเคราะห์ด้านวิชาการแก่ประชาชน ในการประกอบอาชีพและพัฒนาตนเอง
                          ศูนย์ศึกษาการพัฒนาแห่งนี้ มีเป้าหมายสำคัญด้านการวิจัยเพื่อปรับปรุงดินพรุ ให้สามารถนำมาใช้ประโยชน์ด้านเกษตรกรรมให้ได้มากที่สุด และมีการศึกษาทดลองเกี่ยวกับการพัฒนาอุตสาหกรรมขนาดครอบครัวแบบครบวงจร ในเรื่องยางพาราและปาล์มน้ำมัน อันเป็นพืชเศรษฐกิจของภาคใต้ด้วย
                       การดำเนินงานของโครงการเป็นไปในลักษณะผสมผสาน มีหน่วยงานที่เข้าร่วมสนองพระราชดำริเป็นจำนวนมาก เช่น กรมพัฒนาที่ดิน กรมชลประทาน กรมวิชาการเกษตร กรมป่าไม้ กรมปศุสัตว์ กรมประมง กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กรมพัฒนาชุมชน สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง ฯลฯ


ตื่นตาไปกับ"งานของดีเมืองนรา"

สืบสานตำนานชาวนรา ผ่านงาน “ของดี เมืองนรา”



                                 เมืองนราธิวาส ช่วงระหว่างเดือนกันยายน-ตุลาคมของทุกปี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถจะเสด็จแปรพระราชฐานไปประทับยังพระตำหนักทักษิณราชนิเวศน์ จังหวัดนราธิวาสเพื่อทรงประกอบพระราชกรณียกิจในพื้นที่จังหวัดภาคใต้ อันเป็นที่ชื่นชมโสมนัสของบรรดาพสกนิกรเป็นอย่างยิ่งและด้วยความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอย่างล้นพ้นนี่เองคณะข้าราชการ พ่อค้า ประชาชน จึงได้พร้อมใจกันจัดให้มีการแข่งขันเรือกอและหน้าพระที่นั่งปากน้ำบางนรา จังหวัดนราธิวาส  และจัดงานของดีเมืองนราขึ้นแต่ในปัจจุบันนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถทรงมีพระชนม์มายุมากแล้วจึงไม่ได้เสด็จมาประทับที่จังหวัดนราธิวาสเป็นเวลานานแล้ว แต่งานสำคัญนี้ยังคงอยู่ถึงปัจจุบัน

          ครอบครัวของฉันคงเหมือนครอบครัวอื่นๆ ที่รอคอยและไม่พลาดที่จะไปงานนี้ เพราะงานของดีเมืองนรานี้เป็นงานที่แสดงออกถึงวิถีชีวิตของพี่น้องทุกอำเภอของจังหวัดจะมามารวมตัวกัน ได้เห็นเอกลักษณ์ของพื้นที่ต่างๆในจังหวัดนราธิวาส จากรถแห่ประจำอำเภอได้เห็นถึงวัฒนธรรมความเป็นอยู่และได้ความรู้อีกมากมายในการที่ได้มาเที่ยวในงานนี้ แล้วฉันจะเล่าให้ฟังว่างานนี้มีอะไรน่าสนใจบ้าง
                  ลำดับแรกเมื่อก้าวเท้าเข้าไปในงาน มีเสียงเพลงที่สนุก
สนานดังมาแต่ไกล และนั่นก็คือเสียงที่มาจากการแสดงต่างๆ ที่แสดง
ถึงวัฒนธรรมในแต่ละพื้นที่ แสดงถึงการประกอบอาชีพ เช่น การแสดง
ลิเกฮูลู มโนรา ระบำบาติก และระบำกรีดยาง เป็นต้น
                 เมื่อชมการแสดงต่างๆเสร็จแล้วก็ต้องไปชม การจัดขบวนแห่ประเพณีของดีเมืองนราธิวาส การจัดขบวนแห่เรือในท้องน้ำ การจัดประกวดนกเขาชวา และการแข่งขันเรือกอและ                
                  ชมงานกับเสร็จแล้ว ก็ต้องไปชิมกันต่อเลย ไม่ว่าจะเดินกันเหนื่อยแค่ไหน จะร้อนหรือไม่ ก็ไม่ต้องเดือดค่ะ เพราะงานนี้รู้ใจ มีอาหารและเครื่องดื่มต่างๆ วางขายให้เราได้ซื้อกันตลอดทาง เช่น น้ำผลไม้ต่างๆ ข้าวยำปักษ์ใต้ ขนมท้องถิ่นที่หาทานยากๆ เป็นต้น
                   เมื่อหายเหนื่อยแล้วก็อยากจะกลับบ้าน และก่อนจะกลับก็คงจะต้องมีของฝากติดไม้ติดมือกลับไปฝากคนที่บ้านกันด้วย(เพราะเดี๋ยวจะน้อยใจ) และของฝากที่พลาดไม่ได้ก็ต้องเป็น ลองกองหอมหวาน ที่ขึ้นชื่อสุดๆ คือลอกกองซิโปจากตันหยงมัส  ผ้าบาติกและผลิตภัณฑ์บาติก จากอ่าวมะนาว และปิดท้ายด้วย ผลิตภัณฑ์กระจูดสวยๆ จาก ต.โคกเคียนค่ะ



เรื่องราวในงานนี้ฉันนำมาเล่าพอสังเขปเท่านั้น อยากเชิญชวนทุกท่่าน ให้มาชมด้วยตนเอง แล้วท่านจะได้มากกว่าที่เห็นในภาพ
ที่มา : http://www.ku.ac.th/

เที่ยวชมทะเลอ่าวมะนาวและผ้าบาติก


                                                         ทะเลอ่าวมะนาวและผ้าบาติก



      การได้ออกไปท่องเที่ยว ก็เหมือนได้เติมกำไรให้ชีวิต หากท่องเที่ยวให้สุขใจ ขอแนะนำ อ่าวมะนาว

 อุทยานแห่งชาติ อ่าวมะนาว เป็นแหล่งท่องเที่ยว ที่สำคัญของ
จังหวัดนราธิวาส ทางกรมป่าไม้ได้ ขึ้นทะเบียนให้เป็น 

วนอุทยานอ่าวมะนาว เมื่อวันที่ 21 เดือนเมษายน พุทธศักราช 


2536 กับเนื้อที่ประมาณ 720 ไร่ และต่อมาทางกรมป่าไม้ ได้


ส่งมอบ ให้อุทยานแห่งชาติทางทะเล ทำการสำรวจ พื้นที่


บริเวณใกล้เคียงเพิ่มเติม พบว่าสภาพพื้นที่ ตามธรรมชาติมี


ความอุดมสมบูรณ์ ทั้งทางบกและทางน้ำ จึงได้มีการเปลี่ยน


ชื่อใหม่เป็น “อุทยานแห่งชาติอ่าวมะนาว - เขาตันหยง”

ในเขตอ่าวมะนาว มีหัตถกรรมบาติกด้วย
         ผ้าบาติกหรือผ้าปาเต๊ะ เป็นคำที่ใช้เรียกผ้าชนิดหนึ่ง ที่มีวิธีการทำโดยใช้เทียนปิดส่วนที่ไม่ต้องการให้ติดสีและใช้วิธีการแต้ม ระบาย หรือย้อมในส่วนที่ต้องการให้ติดสี ผ้าบาติกบางชิ้นอาจจะผ่านขั้นตอนการปิดเทียน แต้มสี ระบายสีและย้อมสีนับเป็นสิบ ๆ ครั้ง ส่วนผ้าบาติกอย่างง่ายอาจทำโดยการเขียนเทียนหรือพิมพ์เทียนแล้วจึงนำไปย้อมสีที่ต้องการ

             ขอเชิญชวนทุกท่านมาสัมผัสธรรมชาติที่สวยงามและอุดหนุนสินค้าพื้นเมือง ท่องเที่ยวเมืองไทย เงินไม่รั่วไหลไปต่างประเทศ