วันจันทร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

หัตถกรรมกระจูดของชาวนรา



                    ภูมิปัญญาของคนสมัยก่อน มีมากมายเขาสามารถนำวัสดุจากธรรมชาติมาใช้ให้เกิดประโยชน์และสวยงามมากมาย เช่น งานจักสาน โดยเฉพาะงานจักสานเสื่อกระจูดของชาวบ้าน ที่บ้านทอน จ.นราธิวาส          
                    งานกระจูด วัฒนธรรมและประเพณีของดีของชุมชนบ้านทอน มีมาตั้งแต่โบราณจนอาจเลือนหายไปหากเราไม่เรียนรู้ไม่ส่งเสริมวัฒนธรรม งานฝีมือต่างๆ จะหายไปในที่สุด

      ด้วยพระเมตตาพระกรุณาในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระองค์ได้ทอดพระเนตรเห็นเสื่อกระจูดที่ราษฎรนำมาปูเป็นลาดพระบาทในการรับเสด็จฯ ก็ทรงสนพระทัยมาก ทรงทราบว่ากระจูดเป็นพืชที่ขึ้นตามหนองน้ำ และพื้นที่ทั่วไปในภาคใต้ โดยเฉพาะที่จังหวัดนราธิวาสซึ่งเสื่อกระจูดที่ราษฎรนำมาปูถวายนั้นมีลวดลายสีสันงดงามแปลกตา จึงทรงตั้งกลุ่มจักสานเสื่อกระจูดขึ้น โดยให้ใช้ลวดลายแบบโบราณโปรดให้เก็บรักษาลวดลายต่างๆเหล่านั้นไว้ ต่อมาได้มีการพัฒนาโดยทรงจัดให้มีการแข่งขันในการสาน การประกวดลวดลาย เพื่อให้มีการพัฒนารูปแบบ และรูปทรงของผลิตภัณฑ์ประเภทต่างๆ เช่น ทำซอง เป็นกล่องเป็นกระเป๋า เพื่อใส่สิ่งของ เป็นต้น โดยจังหวัดนราธิวาสจะจัดงาน วันกระจูด อยู่ในงานของดีเมืองนรา             


 กระจูดเป็นหญ้าลำต้นกลมสูง จะขึ้นอยู่มากในป่าพรุ ประโยชน์ของต้นกระจูด เมื่อนำไปผึ่งแดดให้แห้งสนิท สามารถนำมาผลิตงานจักสานเป็น เสื่อปูรองนั่งที่เรียกกันว่า เสื่อกระจูด หรือ สาดกระจูด โดยการสานเสื่อกระจูดโดยทั่วไปนิยมสานลวดลาย มาตรฐาน คือ ลายขัดสอง หรือลายขัดสาม และมีการพัฒนาดัดแปลงลวดลาย เช่น ลายลูกแก้ว ลายดาวล้อมเดือน ลายดอกจันทร์ ลายก้านต่อดอก ลายโคม ลายแก้วเนื่อง ลายแก้วบ้านดอน ลายตัวหนังสือ เป็นต้น และมีการทำผลิตภัณฑ์เช่น สายกระเป๋าเครื่องใช้ต่าง ๆ ใช้ทำใบเรือ ทำเชือกผูกมัด

          ปัจจุบันความนิยมในการใช้ผลิตภัณฑ์ กระจูดลดลง ผู้คนนิยมใช้พลาสติก หรือเครื่องหนังเทียม หนังแท้ จะทำอย่างไรดี ให้ กระจูด ความงามของลายเส้นนี้ได้อยู่คู่ท้องถิ่นตลอดไป

3 ความคิดเห็น:

  1. น่าสนใจมากเลยค่ะ ลองเพิ่มส่วนสรุปอีกนิดหนึ่งนะคะ เช่น เชิญชวนให้คนมาใช้ผลิตภัณฑ์ หรือฝึกทำ จะรออ่าน นะคะ

    ตอบลบ
  2. กรรมการให้ 26 คะแนนค่ะ
    ถ้ามีโอกาสเข้ามาเติมเต็มนะคะ ว่านักเรียนมีส่วนร่วมในการผลิต หรือใช้งานอย่างไรบ้าง

    ตอบลบ